ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา - Java cedar - Java cedar [9]
- Java cedar - Java cedar [9]
Bischofia javanica Blume (Syn. Bischofia javensis Blume)
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Phyllanthaceae (Euphorbiaceae)
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Bischofia javanica Blume (Syn. Bischofia javensis Blume)
 
  ชื่อไทย เติม, ประดู่ส้ม, ไม้เติม
 
  ชื่อท้องถิ่น ด่งเก้า (ม้ง), เดี๋ยงซุย(เมี่ยน), ไม้เติม, ลำผาด(ลั้วะ), ด่งเก้า(ม้ง), ไม้เติม(คนเมือง), ละล่ะทึม(ขมุ), ซาเตอ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ด่อกะเติ้ม(ปะหล่อง), ลำป้วย(ลั้วะ), ซะเต่ย(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ชอชวาเหมาะ(กะเหรี่ยงแดง)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้ยืนต้นกึ่งผลัดใบ ขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 35 เมตร ลำต้นมีเนื้อไม้สีน้ำตาลอมเหลืองมีกลิ่นหอม เปลือกสีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลอมแดง และสีน้ำตาลเข้มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น เหลือกชั้นในสีน้ำตาลอมแดง มียางสีแดง
ใบ เป็นแบบใบประกอบ 3 ใบย่อย เรียงตัวแบบสลับ ก้านใบย่อยใบข้างยาวประมาณ 1 ชม. ก้านใบปลาย 2-4 ซม. ก้านใบร่วง 7-18 ซม. แผ่นใบรูปไข่ยาว กว้าง 12-16 ซม. ยาว 32-80 ซม. ผิวใบเรียบ เกลี้ยง เมื่อแก่จัดสีแดงสด
ดอก ออกเป็นช่อยาว 7-30 ซม. เกิดบริเวณซอกใบดอกย่อยแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้มีกาบรูปหอกยาว 1.0-3.5 ซม. ร่วงเร็ว ก้านดอก 2-3 มม. มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบเชื่อมติดกัน มีขนละเอียดปกคลุมกลีบดอก 5 กลีบ สีเหลืองอมเขียวถึงสีเหลืองอมขาวเกสรเพศผู้ 5 อัน อยู่ตรงกันข้าม ดอกเพศเมียมีก้านดอกยาว 4-6 มม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เชื่อมติดกันมีขนละเอียดปกคลุม กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลืองอมเขียวหรือขาวอมเหลือง ก้านเกสรสั้น ปลายแยก 3 แฉก โค้งกลับ
ผล รูปร่างกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-0.7 ซม. ออกเป็นช่อ เมื่ออ่อนสีเขียวเข้ม สุกสีเหลืองอมน้ำตาล เมล็ดเป็นมัน 2-4 เมล็ด มีเนื้อหุ้ม [9]
 
  ใบ ใบ เป็นแบบใบประกอบ 3 ใบย่อย เรียงตัวแบบสลับ ก้านใบย่อยใบข้างยาวประมาณ 1 ชม. ก้านใบปลาย 2-4 ซม. ก้านใบร่วง 7-18 ซม. แผ่นใบรูปไข่ยาว กว้าง 12-16 ซม. ยาว 32-80 ซม. ผิวใบเรียบ เกลี้ยง เมื่อแก่จัดสีแดงสด
 
  ดอก ดอก ออกเป็นช่อยาว 7-30 ซม. เกิดบริเวณซอกใบดอกย่อยแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้มีกาบรูปหอกยาว 1.0-3.5 ซม. ร่วงเร็ว ก้านดอก 2-3 มม. มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบเชื่อมติดกัน มีขนละเอียดปกคลุมกลีบดอก 5 กลีบ สีเหลืองอมเขียวถึงสีเหลืองอมขาวเกสรเพศผู้ 5 อัน อยู่ตรงกันข้าม ดอกเพศเมียมีก้านดอกยาว 4-6 มม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เชื่อมติดกันมีขนละเอียดปกคลุม กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลืองอมเขียวหรือขาวอมเหลือง ก้านเกสรสั้น ปลายแยก 3 แฉก โค้งกลับ
 
  ผล ผล รูปร่างกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-0.7 ซม. ออกเป็นช่อ เมื่ออ่อนสีเขียวเข้ม สุกสีเหลืองอมน้ำตาล เมล็ดเป็นมัน 2-4 เมล็ด มีเนื้อหุ้ม
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ยอดอ่อนลนไฟ ใช้ประกอบอาหารเพื่อเพิ่มรสเปรี้ยว เช่น แกงส้มปลา(เมี่ยน,กะเหรี่ยงแดง)
ยอดอ่อนและดอก นำไปประกอบอาหาร เช่น ยำ หรือนำไปลวกและรับประทานสดจิ้มน้ำพริก(คนเมือง)
ใบ รับประทานสดหรือนำไปหมกกับเกลือกินแบบเมี่ยง(ลั้วะ)
ผล รับประทานได้(ลั้วะ,กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
ใบอ่อน สับให้ละเอียดเป็นส่วนผสมในการทำลาบ, ผล รับประทานได้ มีรสหวานฝาด(ปะหล่อง)
ใบอ่อน นำไปต้มแล้วใช้ห่อเกลือกินแบบเมี่ยง(ขมุ)
ยอดอ่อนและดอกอ่อน ยำใส่ปลากระป๋อง มีรสเปรี้ยวและฝาด(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ผลสุก รับประทานได้(ม้ง)
- เปลือกต้นหรือยอดอ่อน นำมาต้มน้ำดื่มแก้อาการท้องเสีย(ม้ง)
- ใบ เชื่อว่ามีสรรพคุณแก้ท้องร่วงด้วย อาจใช้ต้มให้หมูที่มีอาการท้องร่วงกินเป็นยาก็ได้(เมี่ยน)
- ชาวเขาโดยทั่วไปกินผลสุก เผ่าม้งและลีซอใช้เนื้อไม้ เปลือก ลำต้น และใบต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้เจ็บคอ เสียงแห้ง และใช้แก้โรคบิค ท้องเดิน [9]
- ไม้เนื้อแข็ง ใช้ประโยชน์ในงานก่อสร้าง ทำสะพาน เครื่องฟอร์นิเจอร์ เปลือกใช้ย้อมภาชนะใช้สอยประเภทกระบุง ตะกร้าหรือเครื่องเรือนที่ทำด้วยหวายหรือไม้ไผ่ [9]
- การใช้ประโยชน์เป็นยาพื้นบ้าน เปลือกลำต้นดำผสมอาหารรสจัดแก้ท้องเสีย เนื้อไม้ต้มน้ำดื่มแก้เลือดกำเดาและบำรุงโลหิต ดอกแก้เสมหะ ลมจุกเสียด ท้องอืดท้องเฟ้อ [9]
- เนื้อไม้ รสฝาดขม บำรุงโลหิต แก้ไข้เพื่อโลหิตและกำเดา
ดอก รสร้อนหอม แก้จุกเสียด แก้ท้องขึ้น แก้เสมหะและลม [4]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[4] วุฒิ วุฒิธรรมเวช. 2540. สารานุกรมสมุนไพร : รวมหลักเภสัชกรรมไทย. โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์, กรุงเทพฯ.
[5] พงษ์ศักดิ์ พลเสนา, 2550. พืชสมุนไพรในสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน ฉบับสมบูรณ์. สวนพฤกษศาสตร์ ภาคตะวันออก (เขาหินซ้อน). เจตนารมณ์ภัณฑ์, ปราจีนบุรี.
[9] สุธรรม อารีกุล, จำรัส อินทร, สุวรรณ ทาเขียวและอ่องเต็ง นันทแก้ว, 2551. องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 1. มูลนิธิโครงการหลวง. อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), กรุงเทพฯ. 978 หน้า.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง